หน่วยที่ 8 Mask and Compound Paths

8 Mask and Compound Paths

Place คือการนำไฟล์ภาพหรือไฟล์ข้อความ

ชนิดต่างๆ เข้ามาใช้ประกอบในชิ้นงาน

โดยคลิกที่เมนู File > Place และเลือก

ไฟล์ที่ต้องการใช้งาน (หากต้องการให้

ภาพแนบไปกับไฟล์ห้ามคลิก

เครื่องหมาย 􀀹 หน้าคำว่า Link มิฉะนั้น

แล้วภาพที่นำมาใช้จะไม่ถูกบันทึกไปกับ

ไฟล์) จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Place

Ctrl

Ctrl + Alt Shift + Ctrl + Alt

Original

การทำ Clipping Mask

Clipping Mask หรือ Mask เป็นเสมือนหน้ากากที่สวมแล้วมองเห็นเฉพาะช่องที่เจาะเว้นไว้ให้เห็น

เท่านั้น เป็นการใช้รูปที่อยู่บนสุดของวัตถุมาทำเป็นกรอบครอบวัตถุที่อยู่ด้านล่างให้แสดงผลภายใต้รูปร่าง

ของวัตถุบน สามารถใช้ได้ทั้งภาพแบบเวกเตอร์และบิตแมพ

วิธีการทำคือ

1. เอาวัตถุทั้งหมดที่ต้องการทำ Mask มาวางซ้อนทับกัน โดยให้วัตถุที่ต้องการให้เป็นกรอบอยู่

ด้านบนสุด (ในรูป ชิ้นที่หนึ่งคือรูปที่ Place เข้ามา ชิ้นที่สองคือวงกลมสีขาว)

2. เลือกวัตถุทั้งหมดแล้วไปที่เมนู Object > Clipping Mask > Make

3. การยกเลิก Mask ให้เลือกไปที่เมนู Object > Clipping Mask> Release

การใช้ Pathfinder

Pathfinder เป็นสิ่งที่ช่วยในการสร้างรูปได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นมาก โดยเราอาจจะสร้างรูปร่างแต่

ละส่วนเป็นชิ้น แล้วนำมาทำ Pathfinder เพื่อให้เป็นรูปร่างใหม่ ซึ่งจะเป็นชิ้นเดียวกัน

วิธีการรวมร่างด้วย Pathfinder มีดังนี้

1. ใช้ลูกศรสีดำคลิกเลือกวัตถุที่ซ้อนทับกันทีละชิ้น

2. ถ้ายังไม่ได้เปิด Pathfinder Palette ให้เปิดโดยไปที่เมนูแล้วเลือก Window > Pathfinder หรือ

กดคีย์ Shift +F9

3. คลิกที่ปุ่มบน Pathfinder Palette ตามชนิดที่ต้องการ

การใช้ Pathfinder ในการรวมร่างนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นกับชนิดของการรวมร่างใน Pathfinder

Palette ซึ่งจะมาทำความรู้จักกัน

รายละเอียดของ Pathfinder Palette

ในหน้าต่างของ Pathfinder Palette จะแบ่งเป็น 2 หมวดด้วยกัน คือ

หมวด Shape Modes: เป็นการทำให้รูปร่างของวัตถุเปลี่ยนไป แต่รูปร่างของ Path ยังคงเดิมสีและ

เส้นของวัตถุที่เกิดขึ้นใหม่จะมีผลตามลำดับการซ้อนทับของวัตถุเดิม โดยวัตถุที่อยู่หน้าจะเป็นตัว

หลักในการเปลี่ยนรูป ยกเว้น Subtract to Shape Areas เท่านั้นที่ใช้วัตถุที่อยู่หลังเป็นหลัก

1. Add to Shape Area คือการรวมวัตถุทุกชิ้นเป็นชิ้นเดียวโดยเอาเส้นรอบรูปทั้งหมดรวมกัน

2. Subtract to Shape Area คือการเอาวัตถุที่อยู่ด้านหลังตัดวัตถุที่อยู่ด้านหน้า

3. Intersect Shape Area ใช้กับวัตถุ 2 ชิ้น โดยจะเหลือแต่ส่วนที่ซ้อนทับกันไว้

4. Exclude Overlapping Shape Area เป็นการเจาะเอาส่วนที่ซ้อนทับกันออกไปเหลือแต่ส่วนที่ไม่

ซ้อนทับกันไว้

5. Expand คือการลดรูป Path ของรูปร่างเดิมทั้งหมดให้เหลือเพียงชุดเดียว ผลที่ออกมาจะ

เหมือนกับการเลือกใช้หมวด Pathfinder ซึ่งไม่สามารถคืนกลับเป็นรูปร่างเดิมได้อีก

Original Add to Shape Area Subtract to Shape

Intersect Shape Area Exclude Overlapping

Shape Area

Expand

 

หมวด Pathfinders: จะเป็นการรวมรูปร่างโดยเปลี่ยนรูปร่างของ Path ต้นฉบับไปเลยไม่สามารถ

แก้ไขกลับคืนมาเป็นรูปร่างเดิมได้

1. Divide คือการตัดแบ่งวัตถุทั้งหมดเป็นชิ้น ตามแนวเส้นขอบวัตถุเข้าด้วยกัน

2. Trim การใช้วัตถุบนตัดวัตถุล่าง โดยลบส่วนที่ถูกบังอยู่ออกไป และจะไม่รวมวัตถุเข้าด้วยกันแม้

จะมีลักษณะของสีและเส้นเหมือนกันก็ตาม

3. Merge คล้ายกับ Trim คือการใช้วัตถุบนตัดวัตถุล่าง โดยลบส่วนที่ถูกบังอยู่ออกไป แต่หากวัตถุ

มีลีกษณะเดียวกันจะเป็นการรวมเข้าด้วยกัน

4. Crop คือการเอาวัตถุบนเป็นกรอบในการตัดวัตถุล่าง วัตถุล่างอยู่นอกกรอบจะถูกลบทิ้ง

5. Outline คือการตัดแบ่งวัตถุเป็นชิ้น ในรูปของเส้น โดยยกเลิกสีและ Style ต่าง ออกหมดมี

ประโยชน์ในการใช้เตรียมอาร์ตเวิร์กในกระบวนการพิมพ์เพื่อทำ Trap สำหรับทำสี Overprint

เพื่อป้องกันสีเหลื่อม

6. Minus Back คือการใช้วัตถุล่างตัดวัตถุบน

การจัดเรียงวัตถุ (Align)

ในการทำงานที่ต้องการความมีระเบียบและแม่นยำ การย้ายวัตถุโดยการกะด้วยสายตานั้นไม่เพียงพอ

วิธีที่ดีคือ การใช้ Align เข้าช่วย ขั้นตอนการทำมีดังนี้

Divide Trim Merge

Crop Outline Minus Back

1. เลือกวัตถุที่ต้องการจัดเรียง

2. ถ้ายังไม่ได้เปิด Align Palette ให้เปิดโดยไปที่ Window > Align หรือกดคีย์ Shift + F7

3. คลิกปุ่ม Align ชนิดที่ต้องการ

การจัดลำดับการซ้อนทับวัตถุ (Arrange)

เมื่อทำงานกับวัตถุหลาย ชิ้นที่มีการวางทับกัน ลำดับในการซ้อนหน้าหรือหลัง จะมีผลต่อภาพที่

ปรากฏ วัตถุที่อยู่หน้าจะบังวัตถุที่อยู่หลัง วิธีการจัดลำดับซ้อนทับของวัตถุ ทำได้โดยการคลิกเลือกวัตถุที่

ต้องการเปลี่ยนลำดับ แล้วคลิกเลือกเมนู Object > Arrange ซึ่งมีเมนูย่อยให้เลือก 4 อย่างดังนี้

Bring Forward ดึงขึ้นมาข้างหน้า 1 ขั้น

Bring to Front คือดึงมาอยู่หน้าสุดของวัตถุทั้งหมดในเลเยอร์นั้น

Send Backward คือผลักไปข้างหลัง 1 ขั้น

Send to Back คือผลักไปอยู่หลังสุดของวัตถุทั้งหมดในเลเยอร์นั้น

Original Bring Forward Bring to Front

Send Backward Send to Back

 

 

ใส่ความเห็น